ร้อยไหม คืออะไร มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง อันตรายไหม? ทำไมทำแล้วหน้าเรียว?


ร้อยไหม

การร้อยไหม คือ การกระตุ้นให้เกิดเส้นใยอิลาสติน (Elastin) ขึ้นมาช่วยประคองผิว โดยเทคนิคการใช้เข็มนำเส้นไหมละลายที่มีเงี่ยงสอดลงในชั้นผิวหนัง หลังจากนั้นเมื่อผ่านไปเป็นเวลา 6-18 เดือนเส้นไหมจะละลายไปเองตามธรรมชาติโดยไม่เป็นอันตรายหากร้อยด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง

หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็จะคล้ายกับตะขอเกี่ยว ผิวก็จะถูกเงี่ยงเกี่ยวขึ้นมาตามเส้นไหมในทิศทางที่คุณหมอร้อยไหมเข้าไปในผิว โดยจะมีจุดที่ดึงอยู่ตรงบริเวณแก้มส่วนล่าง และจุดที่ยึดอยู่ตรงบริเวณขมับดึงเข้าหากัน

การร้อยไหมสามารถดึงแก้มที่หย่อนคล้อยได้ทันทีให้ยกกระชับยิ่งขึ้น

ส่วนคนที่กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่า เลือกคลินิกไหนดี ร้อยไหมที่ไหนดี เพราะคนส่วนมากมักต้องการผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติ ปราศจากผลข้างเคียง ควรเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน แพทย์ที่ชำนาญ และอีกคำถามที่พบบ่อยก็คือ ร้อยไหม เจ็บไหม โดยปกติจะไม่รู้สึกเจ็บระหว่างทำการร้อยไหม เพราะการร้อยไหมจะเจ็บเฉพาะตอนฉีดยาชาเท่านั้น

หมอมีคำตอบและคำแนะนำดี ๆ มาฝากในบทความนี้ เพื่อคลายความกังวลใจให้แก่คนไข้ในเรื่องผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการร้อยไหม ข้อดี-ข้อเสียของการร้อยไหม รวมทั้งการเลือกชนิดของเส้นไหมให้เหมาะสมกับใบหน้าของแต่ละคนครับ

รีวิวร้อยไหมหลังจากที่ร้อยไหมเสร็จแล้ว 1 ข้าง(ทันที) เทียบกับอีกด้านที่ยังไม่ได้ร้อยไหมครับ

1. ข้อดี-ข้อเสีย ของการร้อยไหม คืออะไร ?

No. ข้อเสียของการร้อยไหม ข้อดีของการร้อยไหม
1 เนื่องจากบนเส้นไหมจะมีเงี่ยง ที่ทำหน้าที่คล้ายกับตะขอสำหรับดึงผิวไปในทิศทางที่ต้องการ

ถ้าร้อยไหมด้วยเทคนิคที่ไม่ถูกต้องหรือร้อยตื้นเกินไป มีความเสี่ยงที่จะเกิดรอยบุ๋มขึ้นตามแนวที่ร้อยไหม

 

หลังจากร้อยไหมจะเห็นผลได้ทันที

เพราะเงี่ยงไหมที่ทำหน้าที่คล้ายกับตะขอจะช่วยเกี่ยวดึงผิวขึ้นได้ทันที

2 เส้นไหมจะไปกระตุ้นให้ เซลล์สร้างคอลลาเจน (fibroblast) เกิดการสร้างเส้นใย collagen และ elastin ขึ้นมา

แต่ถ้าซ้อนทับกันมากเกินไป และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง ก็จะเรียกว่า พังผืด (fibrosis) จะไปดึงรั้งผิวให้ผิดรูปได้หากอยู่ในผิวชั้นตื้นเกินไป

ถ้าอยู่ในแนวที่ถูกต้อง และชั้นผิวที่เหมาะสม  เส้นใย collagen และ elastin ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น ก็จะคล้ายกับการขึงเส้นเอ็นที่อยู่บนใบหน้าตามธรรมชาติ โดยจะสามารถช่วยประคองผิว และกระชับผิว
3 ไหมละลายจะมีอายุการใช้งานอยู่ได้ประมาณ 4 เดือน-2 ปี ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับเส้นไหมแต่ละชนิดด้วย

แต่ถึงแม้ไหมจะยังละลายไม่หมด เมื่อเวลาผ่านไป 6-8 เดือน ในคนส่วนใหญ่ ผิวก็จะหลุดออกจากเส้นไหมได้ก่อน ทำให้ผลการรักษาอาจอยู่ได้ไม่นานดังคำในโฆษณา

รวมทั้งไหมละลายบางชนิดที่อาจอยู่ได้นาน แต่ขาดความยืดหยุ่น จะเกิดการเคลื่อนตัว และเส้นไหมทะลุโผล่ออกมานอกผิวหนังได้เมื่อเวลาผ่านพ้นไป

ไหมละลายสำหรับการร้อยไหมที่ปลอดภัย ในทุกวันนี้ทำจากวัสดุ 3 ชนิด ได้แก่

1. PDO (Polydioxanone)

2. PLLA (Polylactate)

3. PCL (Polycaprolactone)

 

ซึ่งผ่านการรับรองจาก FDA ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศว่ามีความปลอดภัยในการเย็บแผล

4 หากเป็นไหมยุคเก่าในอดีต อันมีส่วนผสมของโลหะ เช่น ทองคำ

โลหะจะดูดความร้อนจากการทำ X-ray, MRI, เครื่องสแกนต่าง ๆ และจะทำให้ผิวไหม้ได้

ไหมละลายในทุกวันนี้ สามารถละลายได้หมด 100% ตามธรรมชาติ เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของโลหะ โดยไม่มีสารตกค้าง

จะเหลือเพียงเส้นใย elastin ที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมา ซึ่งมีข้อดีคือสามารถช่วยในการประคองผิว

5 หากเป็นคนที่มีรูปทรงใบหน้าที่โหนกแก้มเด่น

หากร้อยไหมจะยิ่งทำให้โหนกแก้มเด่นขึ้นกว่าเดิม แลดูไม่สวย

คุณหมอจึงมักแนะนำให้ใช้วิธีอื่น ๆ แทน เช่น ฉีดฟิลเลอร์แก้มตอบ

ในการช่วยปรับรูปหน้าให้สมส่วนสวยงาม

คนไข้รายที่แก้มตอบบางเคสสามารถใช้ไหมดึงไขมันขึ้นมาเติมแก้มได้ แก้มล่างยุบและแก้มบนเต็มขึ้น

แต่คนไข้จะต้องมีเนื้อแก้มส่วนล่างให้ดึงด้วย เพราะหากคนไข้ไม่มีเนื้อก็อาจจะต้องใช้การฉีดฟิลเลอร์แทนการร้อยไหม

6 มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบวมช้ำหลังการร้อยไหมที่ค่อนข้างสูง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการฉีดยาชา รวมถึงเลือดที่ออกใต้ผิวหนัง

หลังทำทันทีจะบวมน้อย แต่ในช่วง 3-4 วันแรกก็อาจจะบวมมากขึ้น

แต่โดยส่วนใหญ่ภายใน 7-14 วันอาการบวมก็จะหายไปได้เอง

สามารถลดความเสี่ยงในการบวมช้ำลงได้มาก หากร้อยไหมกับคุณหมอที่มีความชำนาญ และร้อยด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง
7 บางคลินิกใช้การร้อยไหมเติมแทนการฉีดฟิลเลอร์ ลักษณะนี้ไม่แนะนำให้ทำครับ เนื่องจากในการเติมเต็มบริเวณใต้ตาหรือร่องแก้ม ต้องใช้ปริมาณเส้นไหมจำนวนมาก อาจมากถึงร้อย ๆ เส้นเลยทีเดียว ซึ่งจะทำให้เกิดพังผืด และเกิดปัญหาต่อไปในอนาคตได้ 

บางคลินิกนำไหมไปปั่นเป็นผงเล็กๆ (ไหมน้ำ) แล้วฉีดแทนฟิลเลอร์ วิธีการนี้ก็อาจทำให้เกิดพังผืดได้ครับ

ในเคสที่ดื้อโบท็อก การร้อยไหมด้วยไหมเส้นเล็กๆ สามารถช่วยในการแก้ริ้วรอยในบางจุดได้ เช่น ริ้วรอยเล็ก ๆ บริเวณมุมปากที่ดูเผิน ๆ จะคล้ายกับมีลักยิ้ม

รวมถึงริ้วรอยบริเวณหน้าผาก, หางตา

                                       

ขอบคุณข้อมูล: ร้อยไหมก้างปลา ดึงแก้ม จาก Youtube Channel: V Square Clinic

ในคลิป VDO เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการร้อยไหมสามารถช่วยดึงแก้มได้ทันทีให้ยกกระชับขึ้น

2. หน้าบวมเป็นเวลา 14 วันหลังจากร้อยไหม เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ?

หน้าบวมหลังจากร้อยไหม สาเหตุอาจเกิดได้จาก 4 ข้อหลัก ๆ ดังนี้

2.1 เนื้อแก้มเยอะ หรือดึงเยอะเกินไป

โดยส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะแนะนำให้ทำเมโสแฟตก่อนในคนไข้ที่มีเนื้อแก้มเยอะ เพื่อให้เนื้อแก้มน้อยลงก่อนจะร้อยไหมต่อไป ซึ่งจะสามารถดึงไหมได้เยอะขึ้น

แต่ก็สามารถร้อยไหมได้หากคนที่ใจร้อน แต่ต้องยอมรับว่าอาจจะดึงไหมได้น้อยลง สาเหตุเนื่องจากถ้าหากดึงไหมเยอะเนื้อแก้มจะไปกองอยู่ด้านบน จนอาจทำให้ใบหน้าดูบวม โดยอาการบวมในกรณีเช่นนี้จะบวมอยู่เกินกว่า 1 เดือน คนไข้อาจต้องรอให้ไหมเริ่มคลายจึงจะดีขึ้น ซึ่งจะต้องรอเป็นเวลาประมาณ 2-3 เดือนครับ

การร้อยไหมสามารถช่วยให้เนื้อแก้มน้อยลงได้เช่นกัน ในคนไข้บางรายที่มีเนื้อแก้มเยอะ ด้วยกระบวนการ fat-reposition (การดึงไขมัน) ด้วยการร้อยไหม ซึ่งคนไข้จะต้องเข้ารับการร้อยไหมหลายครั้ง และจะต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือน

2.2 การดึงไหมผิดแนว

หากร้อยไหมเพื่อดึงร่องแก้มอาจจะส่งผลให้โหนกแก้มดูมีเนื้อเยอะขึ้น และทำให้หน้าดูบวมได้ เนื่องจาก การร้อยไหมโดยปกติแล้วมักจะเน้นแก้ไขความหย่อนคล้อยของแก้มเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะอยู่ตรงบริเวณใกล้ ๆ มุมปาก

ตำแหน่งการร้อยไหม

การร้อยไหมนั้นสิ่งสำคัญคือจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญในการประเมินทรงหน้ารวมทั้งเทคนิคของแพทย์ด้วย หากจะให้ผลลัพธ์ที่ได้จากร้อยไหมออกมาเป็นใบหน้าที่สวยงาม และกระชับเข้ารูป

2.3 การอักเสบติดเชื้อ

3-4 วันแรกหลังการร้อยไหมโดยปรกติมักจะมีอาการบวมมากขึ้น หลังจากนั้นอาการบวมจะค่อย ๆ ยุบลง จนกระทั่งภายในระยะเวลา 14 วันใบหน้าจึงจะเข้าที่ แต่ควรสังเกตตัวเองด้วยว่าหากหลังจากผ่านไป 4 วันแล้วยังมีอาการบวมแดงมากขึ้น ปวดมากขึ้นกว่าเดิม คนไข้ต้องรีบกลับมาพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจประเมินและให้ยากินเพิ่มตามอาการครับ

2.4 อาการที่อาจเกิดขึ้น บวมเลือด และ บวมน้ำ

บวมเลือด และบวมน้ำนั้น เป็นอาการที่ไม่มีอันตราย โดยภายในระยะ 2-3 สัปดาห์จะสามารถยุบไปได้เองจนหายดีเป็นปกติ

  •         บวมเลือด มีอาการคือ มีเลือดออกในชั้นผิว (hematoma)
  •         บวมน้ำ มีอาการคือ มีน้ำคั่งในชั้นผิว อันเกิดจากการอักเสบ (edema)

ร้อยไหม

การนำเส้นไหมเข้าสู่ผิวโดยการใช้เข็มที่มีลักษณะแตกต่างกันในการร้อยไหม สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบวมเลือดและบวมน้ำได้

ร้อยไหม

เข็มที่ใช้ในการร้อยไหมมีดังนี้ : เข็ม L, เข็มทู่, เข็มตัด, เข็มแหลม ตามลำดับ

เข็มแต่ละแบบที่ใช้ร้อยไหม มีข้อดีข้อเสีย แตกต่างกันออกไป ซึ่งสรุปได้ 4 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

  • ใช้เข็มแหลม มีโอกาสเกิดการ บวมเลือด > บวมน้ำ

คล้ายกับการใช้มีดที่มีความคมตัด คือลักษณะของการใช้เข็มแหลมที่จะตัดผ่านเนื้อ จะมีโอกาสเกิดการบวมน้ำได้น้อยกว่า จะเจ็บน้อยกว่า และการสมานของเส้นเลือดขนาดเล็กที่ถูกตัดผ่านจะไวกว่าการใช้เข็มทู่

แต่หากเข็มไปโดนเส้นเลือดใหญ่ก็จะมีโอกาสที่เกิดการบวมเลือดขึ้นได้ การร้อยไหมด้วยเข็มแหลมจึงจำเป็นต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ

  • เข็มทู่ มีโอกาสเกิดการ เกิดการ บวมน้ำ > บวมเลือด

คล้ายกับการใช้มีดทื่อ ๆ ตัด การร้อยไหมโดยใช้เข็มทู่จะมีโอกาสเกิดการบวมน้ำได้มากกว่า และเจ็บมากกว่า เนื่องจากเข็มทู่จะผ่านเนื้อโดยการฉีกออก แม้ว่าจะสามารถหลบเส้นเลือดขนาดใหญ่ได้  แต่หากเป็นเส้นเลือดขนาดเล็กก็จะยังโดนฉีกขาดได้ ซึ่งมีโอกาสจะเกิดเลือดออกได้อยู่ดี

การที่ร้อยไหมด้วยเข็มทู่เกิดการบวมช้ำได้มากกว่าฟิลเลอร์นั้น สาเหตุเนื่องจากเข็มทู่ที่ใช้ในการร้อยไหมจะมีขนาดใหญ่กว่าเข็มทู่ที่ใช้ในการฉีดฟิลเลอร์นั่นเอง

ในการฉีดฟิลเลอร์นั้นหากใช้เข็มแหลมผลลัพธ์ที่ได้จะสวยกว่าเข็มทู่ แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเข้าหลอดเลือด ฉะนั้น ในการฉีดฟิลเลอร์จึงจำเป็นต้องใช้เข็มทู่จะดีกว่า

ส่วนในการร้อยไหม คุณหมอบางท่านจะถนัดใช้เข็มแหลมในการร้อยไหมมากกว่า เนื่องจากเข็มแหลมสามารถควบคุมความแม่นยำได้ดีกว่า

  • เข็มตัด ที่มีลักษณะ กึ่งแหลมกึ่งทู่
  • เข็ม L ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเข็มตัดอีกขั้นหนึ่ง

โดยจะมีเข็มทุกแบบที่ V Square Clinic ครับ โดยคุณหมอจะเป็นผู้ประเมินและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาของคนไข้แต่ละเคส

หากถามว่าเข็มประเภทใดที่ดีที่สุดจะไม่สามารถระบุได้ครับ เนื่องจากจำเป็นต้องประเมินเนื้อเยื่อของคนไข้ หากคนไข้ที่เคยเป็นสิวมาก่อนและมีพังผืดเยอะ หากทำการร้อยไหมด้วยเข็มทู่ก็จะมีโอกาสเกิดการบวมช้ำได้มากกว่าเข็มแหลม รวมทั้งขึ้นอยู่กับความถนัดของคุณหมอแต่ละท่านเป็นสำคัญครับ

3. เพราะเหตุใด หลังร้อยไหม 3-4 เดือน ก็คลายแล้ว ?

เส้นไหมจะสามารถดึงผิวไว้ได้นานเพียงไรนั้น ประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้

3.1 อีลาสติน (Elastin) ในเนื้อของคนไข้

เงี่ยงของเส้นไหมก็จะไม่สามารถเกาะอยู่ได้เป็นระยะเวลานานเท่าที่ควร ถ้าเนื้อเยื่อที่ตะขอเกี่ยวอยู่นั้นเกิดความเสื่อมสภาพ โดยลักษณะของเส้นไหมจะมีเงี่ยงสำหรับใช้เกี่ยวเนื้อลักษณะคล้ายกับตะขอ  และย่อมส่งผลให้เนื้อหลุดออกจากเส้นไหมไปก่อนที่ไหมจะละลายไปจนหมดตามธรรมชาติ อายุโดยเฉลี่ยของ elastin ในผิวคือ 6 เดือนโดยประมาณ

ร้อยไหม

ผิวจะขาด elastin ในคนที่มีอายุมาก ส่งผลให้หลังจากการร้อยไหมแล้วผลลัพธ์จะอยู่ได้สั้นลง แต่ด้วยสาเหตุที่การร้อยไหมสามารถไปช่วยกระตุ้นการสร้าง elastin ให้มากยิ่งขึ้นได้ ฉะนั้น จะสามารถช่วยให้ผลลัพธ์อยู่ได้นานขึ้นหากคนไข้ร้อยไหมเพิ่มหลาย ๆ ครั้ง

3.2 การสร้าง elastin

แม้เส้นไหมอาจละลายไปตามธรรมชาติจนหมดแล้ว แต่ผิวยังคงความกระชับอยู่ได้ ถ้าหากเนื้อเยื่อมีการสร้าง elastin ขึ้นมามาก เปรียบเทียบได้กับการแปะกาว

3.3 อายุของเส้นไหม

ประเภทของไหม

วัสดุที่ใช้ร้อยไหมได้ปลอดภัยมี 3 ชนิดคือ PCL / PLLA / PDO เรียงในรูปตามลำดับ

  •         PCL (Polycaprolactone) ละลายหมดไปได้เองภายในระยะเวลา 18-24 เดือน มีความยืดหยุ่นสูงที่สุด มีลักษณะเส้นสีขาวขุ่น เส้นใหญ่ที่สุด
  •         PLLA (Polylactate) ละลายหมดภายในระยะเวลา 12-18 เดือน ขาดความยืดหยุ่น อาจจะพบปัญหา ไหมขาด ไหมทะลุได้บ่อย มีลักษณะเส้นสีขาวใส
  •         PDO (Polydioxanone) มีลักษณะเส้นสีน้ำเงิน เป็นไหมชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีความยืดหยุ่นสูง

ขอบคุณข้อมูล: ร้อยไหมอะไรดีที่สุด? ร้อยไหมแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร? จาก Youtube Channel: V Square Clinic

คลิปเปรียบเทียบไหมแต่ละชนิด ทั้งในแง่คุณสมบัติและความยืดหยุ่น

4. ร้อยไหมแต่ละชนิด ราคาแตกต่างกันอย่างไร?

ไหมชนิดต่าง ๆ จะมีชื่อเรียกซึ่งไม่ใช่ชื่อที่เป็นสากล ล้วนแล้วแต่เป็นชื่อที่ทางคลินิกแต่ละแห่งต่างก็ตั้งชื่อกันขึ้นมาเอง อาทิเช่น ไหมทับทิม, ไหมกุหลาบ, ไหมปิรันย่า, ไหมทอนาโด

สาเหตุจากทางคลินิกเหล่านั้นอาจไม่ต้องการให้คนไข้สามารถเช็คเปรียบเทียบร้อยไหมกับโรงพยาบาลหรือคลินิกอื่นได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วคนไข้สามารถสอบถามทางคลินิกเพิ่มเติมได้ว่า ราคาที่ทางคลินิกตั้งนั้นเป็นการร้อยไหมชนิดใด โดยการดูลักษณะเส้นไหมตามข้อมูลดังต่อไปนี้ โดยแบ่งไหมออกเป็นชนิดหลัก ๆ คือ

4.1 ตามชนิดวัสดุ PDO, PLLA, PCL

สามารถดูได้ตามรูปภาพ และรายละเอียดในหัวข้อที่ 3.3 ที่ได้กล่าวไว้แล้ว

4.2 ตามลักษณะเส้นไหม

ร้อยไหม

ไหมกรวย, ไหมเงี่ยงใหญ่, ไหมเงี่ยงเล็ก, ไหมเกลียว, ไหมเรียบ ตามลำดับ

อธิบายโดยเรียงตามลำดับในรูปภาพด้านบน 

  •         วัสดุ PDO จะเป็นสีน้ำเงิน
  •         วัสดุ PLLA จะเป็นสีขาวใส
  •         วัสดุ PCL จะมีสีขาวขุ่น

สรุปจากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้ว่า ไหมเงี่ยงใหญ่ จะเป็นไหมที่ดึงหน้าได้ดีที่สุดและต่างนิยมใช้กันในทุกคลินิก หากจะแตกต่างกันก็เพียงแค่การตั้งชื่อของคลินิกแต่ละแห่ง รวมถึงการตั้งราคาค่าร้อยไหมให้แตกต่างกันออกไปเท่านั้น

5. การตัดสินใจเลือกระหว่าง ร้อยไหม vs ฟิลเลอร์ vs โบท็อก vs Ulthera/Hifu จะเลือกทำอะไรดี?

ควรเลือกทำตามความเหมาะสมกับปัญหาของคนไข้ โดยแพทย์จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดีที่สุด

  •         การฉีดฟิลเลอร์ เหมาะกับผู้ที่มีร่องใต้ตา และร่องแก้มที่ลึก รวมถึงใบหน้าหย่อนคล้อย
  •         ร้อยไหม เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาแก้มหย่อนมาก และยังเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน มีราคาที่ไม่แพง
  •         การฉีดโบท็อก เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาการมีริ้วรอยบริเวณหางตา และริ้วรอยบริเวณหน้าผาก และเป็นคนที่มีกล้ามเนื้อกรามเยอะ สังเกตได้จากกรามขึ้นชัดเจนเมื่อกัดฟัน
  •         การทำ Ulthera/Hifu เหมาะกับคนที่กลัวเข็ม และมีปัญหาแก้มหย่อนไม่มากนัก ซึ่งอาจจะเห็นผลไม่ชัดเจนหากเทียบกับการร้อยไหม และยังมีราคาที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย

รีวิวร้อยไหม ช่วยยกกระชับใบหน้าได้ดีเพียงไร ?

ตัวอย่างผลการ ร้อยไหม โดยทีมแพทย์ V Square Clinic

ขอบคุณข้อมูลจาก https://praew.com/beauty/319295.html

(รูป After คือรูปหลังทำทันที)

รีวิวร้อยไหม

ร้อยไหม รีวิว

รีวิวร้อยไหม

ร้อยไหม รีวิว

รีวิวร้อยไหม

ร้อยไหม รีวิว

รีวิวร้อยไหม

ร้อยไหม รีวิว

รีวิวร้อยไหม

ร้อยไหม รีวิว

*ผลการรักษาแตกต่างกันแต่ละบุคคล

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.vsquareclinic.com/blogs/facelift/