ข้อห้าม หลังฉีดโบท็อก
ในทุกวันนี้ผู้คนต่างให้ความสนใจและนิยมฉีดโบท็อก (โบทูลินั่ม ท็อกซิน) กันมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
เพราะเป็นการทำหัตถการที่สามารถเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องรอนาน โดยปรกติจะอยู่ได้นานประมาณ 4-6 เดือน และราคาไม่แพง
หากเราละเลยการปฏิบัติตัวตามขั้นตอนที่เหมาะสม อาจต้องฉีดโบท็อกบ่อยขึ้น ซึ่งจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดดื้อโบท็อกง่ายขึ้นด้วยนอกจากจะเสียเงินมากขึ้นแล้ว
ในบทความนี้คุณหมอจะมาเล่าถึงงานวิจัยล่าสุดอย่างเจาะลึก เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตัวทั้งก่อนฉีดและหลังฉีดโบท็อกอย่างไรจึงจะช่วยให้โบท็อกอยู่ได้นานยิ่งขึ้น
กลไกการออกฤทธิ์ของโบท็อกเป็นสิ่งสำคัญที่ควรทำความเข้าใจก่อนเป็นอันดับต้น ๆ เพราะจะช่วยให้คนไข้เข้าใจในวิธีปฏิบัติตัวก่อนฉีด-หลังฉีดโบท็อกว่าทำเพื่ออะไร และเมื่อเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วย่อมจะจำง่ายยิ่งขึ้นด้วยครับ
โบท็อก คือ โปรตีนที่มีลักษณะเป็นในน้ำใส ๆ และจะแยกเป็น 2 ส่วนหลังจากที่ฉีดเข้าสู่บริเวณกล้ามเนื้อแล้ว
- ส่วนที่ 1 คือ ส่วนที่จะถูกดูดซึมเข้าไปเก็บเอาไว้ในเซลล์ประสาท เป็นส่วนเดียวเท่านั้นที่จะออกฤทธิ์ ถ้าส่วนนี้มีความเข้มข้นสูงจะช่วยให้ผลการฉีดโบท็อกอยู่ได้นานมากขึ้น
- ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่ไม่ถูกดูดซึม ซึ่งภายในช่วงเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังฉีดส่วนนี้จะปลิวไปตามกระแสเลือด เสียไปฟรีๆ โดยไม่มีผลต่อเซลล์อื่น ๆ ของร่างกาย เพราะจะถูกขับออกไปจากร่างกายในที่สุด
มีวิธีปฏิบัติตัวก่อนฉีดโบท็อกอย่างไร หากต้องการให้ส่วนที่ 1 เข้มข้นขึ้น อยู่ได้นานกว่าปกติ และทำให้โบท็อกส่วนที่ 2 ปลิวไปน้อยที่สุด
1. โบท็อกแท้เท่านั้น ที่ควรเลือกใช้
ข้อสำคัญคือก่อนฉีดทุกครั้งต้องตรวจสอบว่าเป็น “โบท็อกของแท้” เท่านั้น เนื่องจากโบท็อกแท้ฉีดจุดไหนจะอยู่จุดนั้น จะมีการกระจายตัวต่ำ จึงทำให้การปลิวหายไปเกิดขึ้นน้อยลง
ถ้าเป็นคลินิกที่ใช้ของแท้ย่อมยินดีให้เราตรวจสอบได้แน่นอน เพื่อให้คนไข้มั่นใจว่าได้ฉีดโบท็อกของแท้จริง ๆ
- ก่อนเข้ารับการฉีดโบท็อกซ์ คนไข้ควรเตรียมศึกษาวิธีสังเกตโบท็อกแท้ยี่ห้อต่าง ๆ
- ขอให้คุณหมอแกะกล่อง เปิดขวด และทำการผสมโบท็อกให้ดูต่อหน้า
- ขอกล่องและขวดกลับบ้านหลังฉีดเสร็จ หรือขอถ่ายรูปเก็บไว้ตรวจสอบในภายหลัง
พบว่าโบท็อกอเมริกาจะมีค่าการกระจายตัวต่ำที่สุด รวมทั้งราคาของโบท็อกอเมริกาก็จะสูงกว่าเป็นเท่าตัวด้วย หากเปรียบเทียบกับโบท็อกยี่ห้ออื่น ๆ
2. การผสมน้ำเกลือก่อนฉีด
โบท็อกแท้อยู่ในรูปแบบสูญญากาศแห้ง ๆ ทุกยี่ห้อ โดยจะไม่มีน้ำ เมื่อจะดูดออกมาฉีดจะต้องใส่น้ำเกลือลงไปละลาย
หากเจือจางน้ำเกลือมากเกินไป จะส่งผลให้โบท็อกปลิวไปง่ายขึ้น
ปริมาณความเข้มขันที่เหมาะสมคือ น้ำเกลือ 2.6 CC ต่อ โบท็อก 100 ยูนิต
เราควรขอให้แพทย์ผสมโบท็อกต่อหน้าก่อนฉีดทุกครั้ง จะได้มั่นใจว่าไม่ได้เจือจางน้ำเกลือมากจนเกินไป เพราะหากผสมเป็นน้ำแล้วมาฉีดให้เลย คนไข้จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นการผสมน้ำเกลือแบบเข้มข้นหรือเจือจาง
3. เทคนิคในการฉีด
หากฉีดไม่ตรงจุด แม้ว่าจะได้ผล แต่ก็จะเห็นผลช้าและอยู่ได้สั้นลงกว่าที่ควร เพราะจะต้องรอโบท็อกแพร่กระจายจากจุดที่ฉีดมายังปลายเซลล์ประสาท
เราจึงควรเลือกฉีดโบท็อกกับคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญ ในคลินิกที่ได้มาตรฐาน เพราะเพื่อให้สามารถประเมินกล้ามเนื้อที่จะฉีดได้ว่า ความลึกในแต่ละจุดไหนเป็นเท่าไร ซึ่งเป็นจุดที่เซลล์เส้นประสาทมาเกาะกล้ามเนื้อ
โดยส่วน 2 ที่ปลิวกระจายไปอาจจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้ทำให้ดื้อโบท็อกตามมา
4. ไม่ควรใช้จำนวนยูนิตเกิน 300 ยูนิต ในการฉีดโบท็อกในแต่ละครั้ง
- หลีกเลี่ยงเทคนิคการฉีดที่ไม่ได้ฉีดโบท็อกเข้าในกล้ามเนื้อโดยตรง เนื่องจากอาจจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการดื้อยา
- หากใช้จำนวนยูนิตเกิน อาจเพิ่มโอกาสที่ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานได้ง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใช้จำนวนยูนิตน้อยเกินไปในแต่ละจุด เนื่องจากอาจส่งผลให้โบท็อกหมดฤทธิ์ไว ทำให้ต้องฉีดบ่อยขึ้น และยังเสี่ยงต่อการดื้อโบท็อกด้วย
ซึ่งคุณหมอจะเป็นผู้ประเมินคนไข้ในแต่ละเคสและแจ้งให้ทราบถึงปริมาณยูนิตที่เหมาะสมที่ควรใช้ฉีด
5. ควรใช้การประคบเย็น ระหว่างการฉีด
เพื่อป้องกันไม่ให้โบท็อกปลิวออกไป แต่อยู่เฉพาะจุดที่หมอต้องการจะฉีด และช่วยลดการไหลเวียนของเส้นเลือดบริเวณที่ฉีดโดยรอบ จึงควรประคบด้วยความเย็นระหว่างฉีด
ข้อควรปฏิบัติ หลังฉีดโบท็อก เพื่อช่วยให้ โบท็อกสลายช้าที่สุด
6.1 แนะนำให้รีบขยับเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดทันที 1-2 ครั้ง หลังฉีดโบท็อกทันทีในแต่ละบริเวณ
คนไข้ควรบริหารกล้ามเนื้อทั้งหมดที่ฉีดเป็นเวลาประมาณ 30 นาที เพื่อช่วยให้เซลล์ประสาทดูด botox เข้าไปให้มากที่สุด ให้เหลือส่วนที่จะปลิวไปน้อยที่สุด หลังจากที่ฉีดโบท็อกเสร็จแล้วทั้งหมด
แต่ขณะที่เรากำลังขยับกล้ามเนื้อหลังฉีดเสร็จไม่ควรประคบเย็น เนื่องจากจะเป็นการไปขัดขวางการดูดโบท็อกเข้าเซลล์ประสาท
กล่าวคือ ตอนฉีดเราใช้ความเย็นบล็อกรอบ ๆ เพื่อช่วยให้โบท็อกอยู่เฉพาะจุดที่ต้องการฉีด หลังจากนั้นเมื่อฉีด botox เสร็จทันทีคนไข้จึงควรขยับกล้ามเนื้อเพื่อช่วยดึงให้โบท็อกเข้าเซลล์ครับ
ตัวอย่างรีวิวผลการรักษาด้วยโบท็อก
ดังในรูปฝั่งซ้ายมือ คนไข้ควรรีบขยับกล้ามเนื้อหลังฉีดเสร็จทันที รวมทั้งหลังฉีดควรใช้วิธีเคี้ยวหมากฝรั่งหรือกัดฟันทันทีถ้าเป็นการฉีดโบท็อกกราม
6.2 ควรหลีกเลี่ยงการนอนราบ 3 ชั่วโมง หลังฉีดโบท็อก
คนไข้ควรดูแลตัวเองไม่ควรไปแกะ เกา หรือนวดในบริเวณที่ฉีด ซึ่งสามารถเกิดหน้าบวมขึ้นได้ เป็นอาการปรกติหลังฉีดโบท็อก
นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการก้มหัวลงต่ำกว่าระดับหัวใจ เพราะจะทำให้โบท็อกปลิวไปเยอะขึ้น จะทำให้เลือดไหลเวียนไปที่หน้ามากขึ้น
อาจต้องใช้เวลาประมาณ 7-14 วันหลังการฉีดกว่าที่จะเริ่มเห็นผล สำหรับโบท็อกส่วนที่ 1 ที่อยู่ในเซลล์ประสาท ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งกล้ามเนื้อ หลังจากนั้น เมื่อเวลาผ่านไปความเข้มข้นของโบท็อก และการยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อ จะค่อย ๆ ลดลงไป
โบท็อกจะย่อยสลายไวขึ้นหรือไม่นั้นเกิดจากสาเหตุสำคัญหลัก ๆ คือ การไหลเวียนของเลือด (Metabolism) รวมทั้งความร้อน
7.1 คนไข้ควรหลีกเลี่ยงการเจอกับความร้อนทุกชนิด รวมทั้งกิจกรรมที่ทำให้หน้าแดง
สิ่งที่ควรงดเว้น ได้แก่ การออกกำลังกายหนัก ๆ, เข้าซาวน่า, ตากแดด, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เลเซอร์ร้อนที่ลงผิวชั้นลึกทุกชนิด เช่น thermage RF รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ, ไม่ควรก้มหัวต่ำกว่าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฉีดโบท็อก (หรือถ้าทำไม่ได้จริง ๆ ควรงดอย่างน้อย 48 ชั่วโมงหลังฉีด)
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง หลังฉีดโบท็อกในช่วง 14 วัน (หากทำไม่ได้ ควรงดอย่างน้อย 48 ชั่วโมง)
- ไม่ควรกินอาหารที่เผ็ดมาก ๆ แสบร้อนจนหน้าแดง
- ไม่ควรกินอาหารที่ต้องนั่งหน้าเตาร้อน ๆ หมูกระทะ ปิ้งย่าง ชาบู
- ไม่ควรกินเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เหล้า เบียร์ ไวน์ น้ำหมัก
- ไม่ควรกินอาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า หน่อไม้ดอง มะม่วงดอง เพราะมีสารที่ทำให้เส้นเลือดขยายตัว
- ในบุหรี่มีสารหลายชนิดที่ขยายหลอดเลือด จึงควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
หากพ้นช่วงเวลา 2 สัปดาห์ไปแล้ว สิ่งต่างๆ ดังที่กล่าวข้างต้นนี้อาจจะส่งผลต่ออายุของโบท็อกอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
แต่ถ้าเป็นกิจกรรมที่เข้าซาวน่า และการทำเลเซอร์ร้อนจะยังมีผลกระทบมากที่สุด
แต่กิจกรรมการออกกำลังกายนั้นไม่จำเป็นต้องหยุด ควรหลีกเลี่ยงความร้อนเท่าที่พอจะทำได้ก็พอ เพราะการออกกำลังกายช่วยให้ผิวใสขึ้น และดีต่อสุขภาพ
ในช่วง 14 วันหลังฉีดโบท็อก คนไข้ควรหลีกเลี่ยงความร้อน ถ้าหากทำไม่ได้ก็ขออย่างน้อย 48 ชั่วโมงหลังฉีด รวมถึงกิจกรรมทุกชนิดที่ทำให้หน้าแดงด้วย
7.2 กรณีที่คนไข้มีคอร์สเลเซอร์ ทำหน้า นวดหน้า ที่ต้องทำอยู่แล้วเป็นประจำ
ก่อนที่จะมาฉีดโบท็อก ควรทำเลเซอร์ นวดหน้า หรือทำหน้ามาให้เรียบร้อย เนื่องจากหลังฉีดโบท็อกหากต้องการจะไปทำหน้าได้อีกจำเป็นต้องงดไปอีกถึง 2 สัปดาห์
เนื่องจากการทำงานของโบท็อกที่อยู่ในเซลล์ประสาท จะต้องอาศัยแร่ธาตุ สังกะสี (zinc) เป็นสิ่งสำคัญ
ซึ่งจากการสำรวจพบว่า 30% ของชาวเมริกัน มีอาการขาดธาตุสังกะสี (แต่ยังไม่มีการสำรวจในคนไทย) และจะส่งผลให้โบท็อกออกฤทธิ์ได้น้อยลงและช้าลง และยังทำให้ผลการฉีดโบท็อกอยู่ได้สั้นลงด้วยครับ https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/22453589/
8. ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า การกินแร่ธาตุสังกะสี (zinc) 50 mg ก่อนและหลังการฉีดโบท็อก จะช่วยให้โบท็อกอยู่ได้นานขึ้น โบท็อกออกฤทธ์ดีขึ้นและไวขึ้น
แต่ในคนไข้บางรายอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงของโบท็อกได้มากขึ้น เนื่องจากเสริมฤทธิ์รุนแรงจนเกินไป
หากจะกินในปริมาณมาก แนะนำให้กินธาตุสังกะสีตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่จะใช้ในคนไข้ที่เริ่มดื้อโบท็อก (อาการคือฉีดแล้วผลลัพธ์อยู่ได้ไม่นาน) หรือคนไข้ที่มีอาการขาดแร่ธาตุสังกะสีอย่างชัดเจนเท่านั้น
จะสามารถกินเสริมได้ตามปรกติหากคนไข้กินธาตุสังกะสีจากอาหาร หรือกินในปริมาณปรกติ คือไม่เกิน 15-20 mg/วัน อย่างที่ Thai RDA ได้กำหนดไว้
และหากคนไข้ลองสังเกตตัวเองแล้วพบว่ามีอาการขาดธาตุสังกะสี แนะนำให้กินก่อนหรือหลังฉีดโบท็อกได้ ซึ่งจะช่วยให้โบท็อกอยู่ได้นานขึ้น การขาดสังกะสีจะมีอาการคือ ผมร่วงแตกปลาย, เล็บแห้งเปราะหักง่าย, ผิวแห้งลอก , เป็นแผลเรื้อรังรวมถึงเป็นผื่นง่าย
ข้อมูลเกี่ยวกับแร่ธาตุสังกะสีในอาหาร
- ไข่แดง มีสังกะสี 1.5 mg/100 g
- เนื้อสัตว์ อาหารทะเล มีสังกะสี 1.5-4 mg/100 g
- ตับ มีสังกะสี 4-7 mg/100 g
- หอยนางรม มีสังกะสี 75 mg/100 g
- ในพืชผักผลไม้ มีปริมาณสังกะสีน้อย และดูดซึมได้ยาก
ข้อมูลข้างบนนี้ คาดว่าน่าจะมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่อาจขาดสังกะสี และในคนที่ยิ่งมีอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีความเสี่ยงที่จะขาดธาตุสังกะสีมากขึ้นอีก
ในคนที่ชอบเคี้ยวอาหารเหนียวนาน ๆ เกินความจำเป็น ยิ้มบ่อย และเลิกคิ้วบ่อย จะส่งผลให้โบท็อกอยู่ได้สั้นลง อันเนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้จะไปทำให้กล้ามเนื้อถูกกระตุ้นให้ใช้งานบ่อย จนกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นจนใบหน้ากลับสู่สภาพเดิมเมื่อตอนก่อนฉีดไวขึ้น
ในทางตรงข้าม หลังฉีดโบท็อกแล้วผลที่ได้จะอยู่ได้นานขึ้น ถ้ากล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้งานต่อเนื่องนาน ๆ เมื่อเวลาผ่านไปขนาดกล้ามเนื้อจะเล็กลง และจะกลับมาทำงานได้ยากขึ้น
9. การฉีดโบท็อกควรทำอย่างต่อเนื่อง และในระยะที่เหมาะสม (ไม่ฉีดบ่อยไปหรือเว้นห่างเกินไป)
- ไม่ควรฉีดถี่จนเกินไป อย่างน้อยควรเว้น 3 เดือน
- ไม่ควรเว้นระยะห่างจนเกินไป เช่น เว้นเกิน 5-6 เดือน สาเหตุเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้ปกติ จนอาจจะต้องใช้ยูนิตของโบท็อกเยอะขึ้นในการฉีด
10. หลังจากฉีดโบท็อกในแต่ละจุด คนไข้ควรรีบขยับเกร็งกล้ามเนื้อที่ฉีดทันทีสัก 1-2 ครั้ง
เมื่อฉีดเสร็จคนไข้ควรบริหารกล้ามเนื้อทั้งหมดที่ฉีดนาน 20 นาทีโดยประมาณ
การขยับกล้ามเนื้อยังสามารถส่งผลให้โบท็อกส่วนที่ 1 ที่ถูกเก็บไว้ในเซลล์ประสาทสลายไปได้ไวขึ้น เนื่องจากจะไปเพิ่มการไหลเวียนกระแสเลือดในบริเวณที่ฉีด
การที่คนไข้ขยับกล้ามเนื้อยังจะทำให้โบท็อกส่วนที่ 1 ที่ถูกเก็บไว้ในเซลล์ประสาทสลายไปได้เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากจะไปเพิ่มการไหลเวียนกระแสเลือดในบริเวณที่ฉีด
วิธีการดูแลตัวเองหลังฉีดเสร็จแล้วคือ พยายามไม่เคี้ยวปลาหมึกแห้ง หรืออาหารเหนียว ๆ ควรพยายามเปลี่ยนพฤติกรรมโดยขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดให้น้อยลง เนื่องจากถ้าคนไข้กระตุ้นกล้ามเนื้อบ่อย ๆ จะส่งผลให้เซลล์เส้นประสาทงอกขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งเซลล์ประสาทที่งอกมาใหม่นั้นจะสามารถขยับกล้ามเนื้อได้ แม้โบท็อกจะยังไม่หมดฤทธิ์
สรุปข้อควรปฏิบัติในแต่ละช่วงเวลา เมื่อฉีดโบท็อก
ก่อนฉีดโบท็อก
- ก่อนฉีดควรศึกษาข้อมูลวิธีสังเกต โบท็อกแท้ ดังข้อมูลด้านบนใน ข้อ 1. และ ข้อ 2.
- เลือกฉีดในคลินิกที่ได้มาตรฐาน กับคุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญตาม ดังข้อมูลใน ข้อ 3, ข้อ 4.
- หากคนไข้มีข้อห้ามในการฉีดโบท็อกต้องแจ้งให้คุณหมอทราบก่อน
- ด้วยสาเหตุที่ว่า หลังฉีดจะต้องงดไป 2 สัปดาห์ จึงจะทำหน้าต่อได้ ดังนั้น หากคนไข้มีคอร์สนวดหน้า ทำหน้า หรือคอร์สเลเซอร์ที่ต้องทำเป็นประจำ ก่อนเข้ารับการฉีดโบท็อกควรถือโอกาสทำมาให้เรียบร้อย
- ช่วง 2-3 วันก่อนฉีดโบ เพื่อช่วยลดโอกาสที่จะเกิดอาการเขียวช้ำบริเวณที่ฉีด คนไข้ควรงดกินยาในกลุ่มที่ลดการแข็งตัวของเลือดเช่น NSAIDs, แอสไพริน รวมถึงควรงดการสครับหน้า
- หากต้องการให้โบท็อกออกฤทธิ์ได้เร็วยิ่งขึ้น สำหรับคนที่มีอาการขาดธาตุสังกะสี (ดังข้อมูลใน ข้อ 8.) ควรเริ่มกินอาหารที่มีธาตุสังกะสี หรือกินอาหารเสริม ในปริมาณที่ไม่เกิน 20 mg/วัน เพราะจะสามารถช่วยให้โบท็อกอยู่ได้นานขึ้น อาจจะไม่จำเป็นต้องกินก่อนฉีด คนไข้สามารถกินหลังฉีดได้เช่นกัน
ระหว่างฉีดโบท็อก
- หลังจากที่ฉีดโบท็อกลดกราม รวมทั้งในบริเวณอื่น ๆ เสร็จทันที คนไข้ควรรีบขยับเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดทันทีประมาณ 1-2 ครั้ง (ดังข้อมูลในข้อ 6.1)
- เมื่อฉีดเสร็จทั้งหมดแล้ว คนไข้ควรบริหารกล้ามเนื้อทั้งหมดบริเวณที่ฉีด เป็นระยะเวลาประมาณ 30 นาที โดยการเคี้ยวหมากฝรั่ง ยิ้มเยอะ ๆ ยักคิ้ว ขมวดคิ้ว
หลังจากฉีดโบท็อก 3 ชั่วโมง
- เพื่อป้องกันไม่ให้ความเย็นไปขัดขวางการดูดโบท็อกเข้าเซลล์ประสาท เราจึงไม่ควรประคบเย็น ดังข้อมูลในข้อ 6.1
- อย่าก้มหัวลงต่ำกว่าระดับหัวใจ และยังไม่ควรนอนราบ ดังข้อมูลในข้อ 6.2
หลังฉีดโบท็อก 24 ชั่วโมง
- แต่งหน้าได้ตามปรกติ รวมทั้งสามารถทาครีมทับบริเวณรอยเข็มได้
หลังฉีดโบท็อก 48 ชั่วโมง
- ถ้าคนไข้สามารถหลีกเลี่ยงการโดนความร้อน รวมทั้งอาหารต้องห้าม ดังในข้อ 7.1, ข้อ 7.2 ได้ ย่อมจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีจากโบท็อก ถึง 90 % จากปรกติแล้วครับ
หลังฉีดโบท็อก 2-3 วัน
- คนไข้บางเคสจะเริ่มเห็นผลจากการฉีดลดริ้วรอยบางส่วน หลังฉีดเสร็จครบ 2-3 วัน
- แต่ในบางเคสอาจเกิดผลข้างเคียงชนิดไม่อันตราย ได้แก่ ปวดหัว ตาพร่า คอแห้ง อันเป็นเพียงแค่ผลข้างเคียงชั่วคราว สำหรับอาการปวดหัวสามารถประคบเย็นได้ และสามารถหายไปเองได้ภายใน 7-14 วัน แต่ถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจรักษาต่อไป
หลังฉีดโบท็อก 7-10 วัน
- อาการที่อาจพบได้หลังฉีดโบคือ หน้าอาจบวมได้เล็กน้อย แต่ไม่ควรประคบร้อน รอยเขียวช้ำอาจจะยังมีอยู่บ้าง แต่จะค่อย ๆ จางหายไปเอง ภายในเวลา 14 วัน
หลังฉีดโบท็อก 14 วัน
- คนไข้จะเห็นผลจากการฉีดโบท็อกลดริ้วรอยเกือบเต็มที่แล้ว หากครบ 14 วัน
- คนไข้จะได้รับที่ดีจากโบท็อก ถึง 90 % จากปรกติแล้ว หากสามารถหลีกเลี่ยงการโดนความร้อนและอาหารต้องห้ามต่าง ๆ ดังข้อมูลในข้อ 7.1, ข้อ 7.2 ได้
- จะเห็นผลจากการฉีดโบท็อกลดกรามคือ เมื่อครบ 14 วัน กัดกรามจะไม่เด้ง แต่กรามอาจจะยังไม่ยุบลง ต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือนกราบถึงจะยุบเต็มที่ครับ
หลังฉีดโบท็อก 14 วัน จนถึงการฉีดโบท็อกครั้งต่อไป
- ไม่ควรโดนความร้อน แต่ยังสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ
- ควรรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีแร่ธาตุสังกะสี ดังข้อมูลในข้อ 8.
- ควรฉีดโบท็อกอย่างต่อเนื่องและในระยะที่เหมาะสม อย่างน้อยควรเว้น 3 เดือนไม่ฉีดถี่เกินไป และไม่ควรเว้นเกิน 5-6 เดือน ไม่เว้นระยะห่างนานจนเกินไป ดังข้อมูลในข้อ 9.
- คนไข้ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยขยับกล้ามเนื้อจุดที่ฉีดโบท็อกให้น้อยลงกว่าปกติ ดังข้อมูลในข้อ 10.
[ข้อห้ามการฉีดโบท็อก] อ้างอิงจาก
https://www.allergan.com/miscellaneous-pages/allergan-pdf-files/botox_med_guide
https://www.drugs.com/drug-interactions/onabotulinumtoxina,botox-index.html
ข้อห้ามในการฉีดโบท็อก แบบที่ไม่สามารถฉีดได้ (Absolute contraindication)
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่อง กล้ามเนื้อในการกลืน
- ผู้ที่มีอาการติดเชื้อที่ผิวหนังในจุดที่จะฉีดโบท็อก
- ผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงต่าง ๆ อาทิเช่น
– amyotrophic lateral sclerosis (ALS)
– Lou Gehrig’s disease
– myasthenia gravis
– Lambert-Eaton syndrome
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่อง โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด อาจมีอันตรายถึงชีวิต
- ผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ข้อห้ามการฉีดโบท็อก แบบที่ควรระวัง
สามารถฉีดได้ แต่คนไข้จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
- ผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 12-18 ปี ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะมีการศึกษารับรองความปลอดภัยในบางกรณีเท่านั้น
- ยังไม่มีการศึกษาที่รับรองความปลอดภัยของการฉีดโบท็อก ในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี
- คนที่เคยมีประวัติแพ้ส่วนผสมของโบท็อกมาก่อน
ซึ่งในโบท็อก ประกอบด้วย : Botulinum toxin type A, Human albumin, Sodium chloride
ก่อนเข้ารับการฉีดโบท็อก มีข้อมูลอื่นๆ ที่คนไข้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
- ถ้าคนไข้เคยทำหัตถการต่าง ๆ ที่เคยทำบนใบหน้ามาก่อน เช่น ร้อยไหม เมโส โบท็อก ฟิลเลอร์ รวมถึงเลเซอร์ชนิดต่าง ๆ
- เป็นผู้อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งในทุกวันนี้ยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันว่า โบท็อกเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่
- เป็นผู้ที่อยู่ในช่วงการให้นมบุตร ซึ่งในทุกวันนี้ยังไม่มีการศึกษายืนยันว่า โบท็อกสามารถผ่านไปทางน้ำนมแม่ได้หรือไม่
- ถ้าคนไข้เคยเข้ารับการผ่าตัดที่ใบหน้ามาก่อน
- ถ้าคนไข้เคยมีผลข้างเคียงมาก่อน ในการฉีดโบท็อกครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมา
- ถ้าเป็นผู้มีภาวะเลือดหยุดยาก เขียวช้ำง่าย
- มีกำหนดการที่จะเข้ารับการผ่าตัดในอนาคต
- ถ้าเป็นผู้มีภาวะหนังตาตกอยู่
ควรแจ้งเกี่ยวกับยาที่คนไข้กำลังใช้อยู่ในปัจจุบันให้คุณหมอทราบ
ยาที่หากคนไข้ได้รับพร้อมกับโบท็อก แล้วจะเกิดอันตรายมาก (Major side effect) นั้นได้แก่
กลุ่มยาฆ่าเชื้อ ”แบบฉีด” บางตัว สามารถเสริมฤทธิ์โบท็อกแล้วทำให้เกิดอันตรายได้ จึงห้ามใช้ร่วมกับโบท็อก
amikacin, colistin, polymyxin E, gentamicin, kanamycin, neomycin, netilmicin, plazomicin, polymyxin B, spectinomycin, streptomycin, tobramycin.
กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ atracurium, cisatracuirum, doxacurium, metocurine, mivacurium, pancuronium, pipecuronium, rapacuronium, rocuronium, succinylcholine, tubocurarine, vecuronium.
ยาฆ่าเชื้อและยาคลายกล้ามเนื้อที่อยู่นอกเหนือจากรายการข้างบนนี้ สามารถใช้ร่วมกันกับโบท็อกได้โดยไม่เป็นอันตราย
กลุ่มยาที่ใช้ร่วมกับโบท็อกแล้วอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในระดับปานกลาง แต่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งจะมีอาการเช่น ปากแห้ง ตาพร่า รอยช้ำ (และหากมีอาการรุนแรง คนไข้สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อปรับชนิดยาที่ใช้ได้) ได้แก่ กลุ่มยาต้านเกร็ดเลือด, กลุ่มยาแก้หวัด, แก้แพ้ รวมทั้งกลุ่มยานอนหลับ
และหลังฉีดโบท็อกไปแล้วในระยะเวลา 4 เดือน หากคนไข้จะรับยาตัวอื่นเพิ่มเติม ต้องแจ้งให้คุณหมอที่จะจ่ายยาทราบด้วยว่าเพิ่งไปฉีดโบท็อกมา
ตัวอย่างผลการปรับรูปหน้า โดยทีมแพทย์ V Square Clinic
ตัวอย่างรีวิว ผลการรักษาด้วยโบท็อกลดกรามหน้าเรียว และเมโสแฟตลดแก้ม
ตัวอย่างรีวิว ผลการรักษาด้วยโบท็อกลดกราม หน้าเรียว
ตัวอย่างรีวิว ผลการรักษาด้วยโบท็อกลดกราม 100 Unit
เอกสารอ้างอิง
- Mark Hallett. (2015). Explanation of Timing of Botulinum Neurotoxin Effects, Onset and Duration, and Clinical Ways of Influencing Them. แหล่งข้อมูล:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4658210/?report=classic
- Briefel RR, Bialostosky K, Kennedy-Stephenson J, McDowell MA, Ervin RB, Wright JD. (1988-1994). Zinc intake of the U.S. population: findings from the third National Health and Nutrition Examination Survey, The Journal of nutrition. 2000 May;130(5S Suppl):1367S–73S.
- นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์. (2522). พบคนไทยเสี่ยงขาดธาตุสังกะสี(zinc). แหล่งข้อมูล:https://www.gotoknow.org/posts/304343
- Flynn TC. Am J Clin Dermato. (2010). Botulinum toxin: examining duration of effect in facial aesthetic applications. แหล่งข้อมูล:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/m/pubmed/20369902/
- Eleopra R, Tugnoli V, De Grandis D, (1997).The variability in the clinical effect induced by botulinum toxin type A: the role of muscle activity in humans. Mov Disord 12(1) 89–94.
- Simpson L, (2013). The life history of a botulinum toxin molecule. Toxicon Jun 68:40–59.
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.vsquareclinic.com/blogs/botox/