อาการแพ้ฟิลเลอร์
อาการแพ้ฟิลเลอร์ โอกาสมีได้น้อยมากที่จะเกิดอาการแพ้ขึ้น หากเป็นการใช้สารไฮยาลูรอนิกแอซิด (HA) ในการฉีด ข้อดีคือ ปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ สามารถสลายไปได้เอง อยู่ในร่างกายได้นาน มีความคงตัว และก่อนฉีดไม่จำเป็นต้องทดสอบอาการแพ้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถฉีดฟิลเลอร์ได้ โดยคุณหมอได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อยกเว้นในบางกรณีดังรายละเอียดในบทความดังต่อไปนี้
ใครบ้างไม่เหมาะสำหรับการฉีดฟิลเลอร์?
เนื่องจากมิใช่ทุกคนที่จะสามารถฉีดฟิลเลอร์ได้ ผู้ที่มีข้อจำกัดดังต่อไปนี้จะไม่เหมาะกับการฉีดฟิลเลอร์
- ควรหลีกเลี่ยงการฉีดฟิลเลอร์ เพื่อป้องการอาการกำเริบมากยิ่งขึ้น ในผู้ที่เป็นงูสวัด หรือเริมอยู่
- หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ในระหว่างการให้นมบุตร
- ผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ไม่ได้เด็ดขาด ได้แก่ ผู้ที่มีอาการแพ้สารไฮยาลูรอนิกแอซิด หรือแพ้ฟิลเลอร์
- คนที่กำลังรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาทิเช่น ยาแอสไพริน (ASA), ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด (Warfarin), ยาแก้อักเสบปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (NSAIDS), สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Gingko biloba), วิตามินอี (Vitamin E) รวมถึงคนที่มีปัญหาเลือดออกแล้วหยุดยาก มีแผลฟกช้ำง่าย
อาการแพ้ฟิลเลอร์ และผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ สังเกตได้จากอะไรบ้าง?
อาการแพ้ฟิลเลอร์ หรือผลข้างเคียงจากการฉีด filler สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายชนิด ดังนี้
- ถ้าฉีดกับหมอกระเป๋า เลือกทำที่คลินิกไม่ได้มาตรฐาน หรือเทคนิควิธีการฉีดที่ไม่ถูกต้อง ไม่สะอาด จนอาจเกิดการติดเชื้อภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ ทั้งนี้ อาจมีอาการตั้งแต่ แดง ร้อน ปวดบวม มีตุ่ม หรือมีก้อนหนองตรงบริเวณที่ฉีดได้ครับ
- หากเกิดรอยแดง หรือรอยช้ำบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ โดยสามารถหายไปได้เองภายในระยะเวลา 1-2 อาทิตย์
- หากมีการฉีดฟิลเลอร์ใกล้ ๆ กับกล้ามเนื้อที่มีการขยับบ่อย ๆ อาจจะเกิดปัญหาการเคลื่อนย้ายของฟิลเลอร์ คือ ฟิลเลอร์มีการเคลื่อนที่ไปยังบริเวณข้างเคียงที่ไม่ต้องการ ไหลออกจากตำแหน่งที่ฉีด ฉะนั้น เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาฟิลเลอร์เคลื่อนย้ายจากบริเวณที่ฉีดและสามารถรักษาผลลัพธ์ของฟิลเลอร์ให้อยู่ได้นานยิ่งขึ้น จึงควรเลือกฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลเหมาะสม รวมทั้งเทคนิคการฉีดที่ดีอีกด้วย
- อาการแพ้ฟิลเลอร์ที่จะพบได้น้อยมากอีกลักษณะหนึ่งก็คือ เป็นผื่นลมพิษแบบรุนแรง (angioedema) ซึ่งถ้ามีอาการคนไข้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที
- ภายหลังการฉีดฟิลเลอร์ผ่านพ้นไปแล้วเป็นเวลาหลาย ๆ เดือนหรือนานเป็นปี คนไข้บางรายเกิดอาการแพ้ฟิลเลอร์ ที่มีลักษณะอักเสบ เป็นก้อน นูน แดง โดยอาการแพ้ประเภทนี้อาจพบได้เป็นบางครั้ง ขึ้นกับภูมิคุ้มกันของผู้ที่รับการฉีด และอายุใช้งานของฟิลเลอร์แต่ละชนิดด้วย
- การเกิดผิวไม่เรียบ (beading) หรือเกิดรอยนูน เป็นเพราะใช้เทคนิคการฉีดที่ตื้นจนเกินไป เช่น การฉีดในบริเวณที่ชั้นผิวมีความบาง การฉีด filler ในปริมาณที่มากเกินไป หรือมีการเลือกใช้ฟิลเลอร์ที่มีขนาดโมเลกุลไม่เหมาะสมกับปัญหาของคนไข้ ก็อาจส่งผลให้เป็นรอยนูน หรืออาจเห็นฟิลเลอร์เป็นก้อนได้ครับ
- ภายหลังการฉีด filler เกิดตาบอด อันเนื่องมาจากฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปอุดตัน บีบ หรือไปกดหลอดเลือดแดง (supratrochlear and supraorbital artery) ซึ่งมีแขนงต่อไปที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา (ophthalmic artery) จนอาจส่งผลให้คนไข้สูญเสียการมองเห็นได้ครับ
- ในกรณีที่มีการฉีดฟิลเลอร์ผิดตำแหน่ง โดยฉีดเข้าไปโดนบริเวณหลอดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดแดง อาจทำให้หลอดเลือดเกิดการอุดตัน จนอาจนำไปสู่บริเวณที่เส้นเลือดนั้นมาเลี้ยงเกิดอาการเนื้อตาย (necrosis)
(รูปตัวอย่างเคสแก้ไข ในกรณีเกิดอุบัติเหตุหลังจากการฉีดฟิลเลอร์จมูก แล้ว filler เข้าสู่หลอดเลือด มีเนื้อตายชั่วคราว (สังเกตที่บริเวณจุดสีดำ ๆ) ทั้งนี้ หากทำโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง รวมถึงมีการใช้ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ HA ที่ได้มาตรฐาน จะปลอดภัย เพราะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที)
หลังฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไร? ถ้าอยากให้ฟิลเลอร์เข้าที่เร็วขึ้นควรระวังเรื่องใดบ้าง?
คนไข้ควรใส่ใจในการดูแลตัวเองให้มากขึ้นเป็นพิเศษหลังฉีดฟิลเลอร์ เพื่อให้ฟิลเลอร์เข้าที่ได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาผลลัพธ์หลังฉีด filler ให้อยู่ได้นานขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการงดเว้นการกินอาหารบางชนิดที่มีส่วนกระตุ้นการอักเสบหรืออาจส่งผลให้ฟิลเลอร์สลายเร็วขึ้นด้วย
- ด้วยสาเหตุที่ว่าพยาธิบางชนิดในอาหารอาจไปทำปฏิกิริยากับฟิลเลอร์จนเกิดการอักเสบได้ คนไข้จึงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และอาหารจากร้านอาหารที่ไม่สะอาด
- ควรงดดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทต่าง ๆ
- ควรงดสูบบุหรี่ จะทำให้ยุบบวมช้า เพราะในบุหรี่มีสารหลายชนิดที่ขยายหลอดเลือด รวมถึงทำให้ผลการรักษาอยู่ได้สั้นลง
- ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ต้องนั่งหน้าเตาร้อน ๆ ประเภทชาบู ปิ้งย่าง หมูกะทะ
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ดจัด และอาหารจำพวกแสบร้อนจนหน้าแดง
- หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง ยกตัวอย่างเช่น หน่อไม้ดอง มะม่วงดอง ปลาร้า เพราะมีสารที่ส่งผลให้เส้นเลือดขยายตัว
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว รวมทั้งอาหารที่มีรสหวานจัด เพราะจะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและบวม
ขอบคุณข้อมูล: [แนะนำ] ฟิลเลอร์ยี่ห้อไหนดี แตกต่างกันอย่างไร ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี
จาก Youtube Channel: V Square Clinic
สิ่งสำคัญในการฉีดฟิลเลอร์ก็คือ ควรเลือกฉีดกับผู้ที่เป็นแพทย์เท่านั้น เนื่องจากแพทย์มีเทคนิคการฉีดที่ดีและมีประสบการณ์สูง จะสามารถแก้ปัญหาของคนไข้ได้ตรงจุด ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง รวมถึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมายด้วยครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.vsquareclinic.com/