ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม ดีไหม? ควรใช้กี่ cc? ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มที่ไหนดี? หลังฉีดต้องดูแลตัวเองอย่างไร?


การแก้ปัญหาร่องแก้มลึกให้ตื้นขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยการฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม

ร่องแก้มลึก คือปัญหาที่หลายคนหนักใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงเนื่องจากจะส่งผลให้ใบหน้าดูแก่ ซึ่งริ้วรอยตรงร่องแก้มเป็นจุดที่บ่งบอกอายุของคุณผู้หญิงได้อย่างชัดเจน วิธีการแก้ปัญหาด้วยการเติม ” ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ” ชนิดที่ผ่าน อย.และปลอดภัยนั้น คือวิธีที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ซึ่งเมื่อคนเรามีวัยล่วงเลยไปจนถึงอายุ 25 ปีเป็นต้นไปร่องแก้มจะค่อย ๆ ลึกมากขึ้น

ฟิลเลอร์ คือ สารเติมเต็มที่คนจำนวนไม่น้อยต่างนิยมฉีด เนื่องจากดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด เป็นสารประเภทไฮยาลูรอนิก  (Hyaluronic acid) สามารถสลายเองได้หมด 100% โดยไม่ก่อให้เกิดสารตกค้าง รวมทั้งผลที่ได้จากการฉีดสามารถคงอยู่ได้นานประมาณ 1 ปี 1 ปีครึ่ง ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อฟิลเลอร์ที่เลือกใช้ในการฉีด เมื่อเวลาผ่านไปจนกระทั่งฟิลเลอร์ที่ฉีดร่องแก้มสลายไปแล้ว เราสามารถเติมฟิลเลอร์ตรงร่องแก้มเพิ่มได้อีกเป็นระยะ ๆ

และแม้คนไข้จะไม่ได้มาเติม filler ตามกำหนดอย่างต่อเนื่อง ผิวที่บริเวณร่องแก้มก็ยังจะดูดีขึ้นกว่าเมื่อตอนก่อนฉีด แม้ว่าจะค่อย ๆ กลับคืนสู่สภาพเดิมก็ตาม  สาเหตุจากร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างคอลลาเจนบริเวณร่องแก้มขึ้นมาใหม่ ช่วยให้ผิวกลับมาชุ่มชื้นกว่าเดิม โอกาสในการเกิดริ้วรอยร่องลึกก็จะน้อยลงกว่ากรณีที่ไม่เคยฉีดเลย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดร่องแก้มลึก

ก่อนฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม คนไข้จึงควรศึกษาข้อมูลให้เข้าใจก่อน เนื่องจากถ้าแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุด อาจส่งผลเสียให้เกิดเป็นก้อนหรือร่องแก้มลึกยิ่งกว่าเดิม ทั้งนี้ สาเหตุของการเกิด ร่องแก้มลึก มีได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน

ตัวอย่างเส้นร่องแก้ม

[เชื่อหรือไม่] ว่าใบหน้า 2 รูปนี้ต่างกันแค่เส้นที่ร่องแก้ม การมีเส้นที่ร่องแก้มจะทำให้สายตาคนที่มองประเมินจุดอื่นๆบนใบหน้าดูแก่กว่าวัยตามไปด้วยทั้งหมด 

1. การเตรียมตัวก่อนฉีด-หลัง ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม

อ่านเพิ่มเติม : [ข้อห้าม-ข้อปฏิบัติ] ก่อน-หลังฉีดฟิลเลอร์ เพื่อให้ผลอยู่ได้นานขึ้น

2. การฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม มีเทคนิค 4 แบบ

4 ปัจจัยหลัก ๆ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดร่องแก้มลึก คือ

2.1 สาเหตุจาก กระดูกบริเวณใต้ตาเกิดยุบตัวลงกว่าเดิม

กระดูกทั้งบริเวณร่องแก้มและใต้ตาของผู้ที่มีอายุล่วงเลยเข้าสู่วัย 30 ปีขึ้นไป จะมีการยุบตัวลงมาก

ร่องแก้มดูลึกลงเรื่อย ๆ เพราะเนื้อแก้มด้านบนจะหย่อนลงมากองที่บริเวณเหนือร่องแก้ม

การแก้ปัญหาร่องแก้มลึกในกรณีนี้ ไม่ควรเน้นฉีดฟิลเลอร์ที่ร่องแก้มเพียงอย่างเดียว เนื่องจากเนื้อจะยิ่งไปกองบริเวณเหนือร่องแก้มเป็นก้อนมากขึ้น หน้าจะดูอูม ๆ ไม่เป็นธรรมชาติ โดยรวมแล้วอาจจะส่งผลให้ร่องแก้มแย่ลงกว่าเดิมเสียอีก

เทคนิคที่ดีในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือการเติมฟิลเลอร์ใต้ตา ด้วยการฉีดยกผิวในชั้นกระดูก เพื่อดึงโครงสร้างผิวโดยรวมทั้งหมดขึ้นไปด้านบน ลดโอกาสที่เนื้อแก้มส่วนที่กองอยู่เหนือร่องแก้มจะเกิดเป็นก้อนน้อยลง สามารถช่วยให้ร่องแก้มดูตื้นขึ้น อย่างเป็นธรรมชาติ หน้าจะไม่ดูอูม

ตัวอย่างเคสรีวิวที่-ร่องแก้มลึก-จากการยุบตัวของกระดูกใต้ตาเป็นหลัก

ตัวอย่างเคสรีวิวที่ ร่องแก้มลึก จากการยุบตัวของกระดูกใต้ตาเป็นหลัก ในเคสนี้หากหมอเติมฟิลเลอร์ร่องแก้มเพียงอย่างเดียว เมื่อเวลาผ่านไปจะยิ่งทำให้ร่องแก้มลึกขึ้น เพราะเนื้อที่หย่อนลงมาจากด้านบนไม่ได้รับการแก้ไขที่ตรงจุด

2.2 สาเหตุจาก การยุบตัวของกระดูกบริเวณร่องแก้มโดยตรง ส่งผลให้ร่องแก้มลึก

การเติมฟิลเลอร์ที่ร่องแก้มแค่อย่างเดียวก็สามารถช่วยแก้ไขปัญหาร่องแก้มให้กับคนไข้ได้ครับ หากเป็นผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 20-30 ปี เพราะกระดูกใต้ตาจะยังยุบตัวลงไม่มาก และร่องแก้มก็ยังไม่ลึกมากสักเท่าไร

เพื่อป้องกันการดึงของกล้ามเนื้อที่ใช้ยิ้ม ควรจะฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มลงในชั้นกระดูกใต้กล้ามเนื้อ รวมถึงควรฉีดในจุดที่ต่ำกว่าร่องแก้มเล็กน้อยด้วย ทั้งนี้ แพทย์ไม่ควรฉีดไปที่ร่องแก้มโดยตรงครับ  ไม่อย่างนั้นแล้วหลังจากเวลาผ่านไปประมาณ 2-3 เดือนร่องแก้มจะยิ่งลึกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน สาเหตุมาจากฟิลเลอร์ที่จะเกิดเป็นก้อน เพราะโดนดึงขึ้นไปกองเป็นเนื้ออยู่เหนือร่องแก้ม

ร่องแก้มลึก-ที่มีสาเหตุมาจากการยุบตัวของกระดูกใต้ร่องแก้มโดยตรง

ตัวอย่างเคสรีวิวที่ ร่องแก้มลึก ที่มีสาเหตุมาจากการยุบตัวของกระดูกใต้ร่องแก้มโดยตรง สามารถเติมแค่ฟิลเลอร่องแก้มเพียงจุดเดียวได้

จุดที่ควรฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม

การฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มด้วยเทคนิคที่ถูกต้องจะทำให้ผลออกมาเป็นธรรมชาติมากที่สุด

2.3 ผู้ที่ยิ้มบ่อย ๆ จนกล้ามเนื้อที่ดึงร่องแก้มแข็งแรงมากเกินไป จนส่งผลให้เกิด ร่องแก้มลึก

ในกรณีนี้เราไม่ควรแก้ปัญหาด้วยการฉีดโบท็อกทั้ง 100% เพราะจะส่งผลให้การยิ้มไม่เป็นธรรมชาติ หน้าคนไข้จะดูแข็ง  ฉะนั้น จึงควรแก้ไขด้วยการฉีดโบท็อกเทคนิค Dermotoxin เพียงแค่ 50% และส่วนที่เหลือควรแก้ด้วยการช่วยให้ร่องแก้มตื้นขึ้นอย่างดูเป็นธรรมชาติ โดยเติมฟิลเลอร์ด้วยเทคนิค Myomodulatio

Dermotoxin เป็นการฉีดโบท็อกด้วยปริมาณที่น้อยมาก ๆ ลงในชั้นผิวหนัง เพื่อต้องการให้คนไข้ยิ้มแล้วดูเป็นธรรมชาติ ไม่แข็ง ป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อตรงร่องแก้มเกิดการคลายตัวมากเกินไป

Myomodulation คือการใช้ฟิลเลอร์ฉีดกดกล้ามเนื้อ หรือฉีดหนุน ให้ผลที่ดูเป็นธรรมชาติ หน้าจะไม่แข็งเพราะจะสามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้เป็นบางส่วน ผลลัพธ์ที่ได้หลังฉีดจะอยู่ได้นานกว่าการฉีดโบท็อก

2.4 ร่องแก้มที่มีสาเหตุจากผิวแห้ง หรือตากแดดบ่อย ทำให้ชั้นผิวบางลง

การรักษาร่องแก้มจากผิวแห้งนั้นควรเลือกใช้ฟิลเลอร์โมเลกุลเล็กเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเป็นก้อน และให้ filler เรียบเนียนไปกับผิว โดยการใช้ฟิลเลอร์ฉีดเพื่อเติมความชุ่มชื้นลงในชั้นผิวหนังโดยตรง

ตัวอย่างเคสรีวิวที่-ร่องแก้ม-เกิดจากผิวชั้นบนแห้งและบางลง

ตัวอย่างเคสรีวิวที่ ร่องแก้ม เกิดจากผิวชั้นบนแห้งและบางลง สามารถใช้ฟิลเลอร์ร่องแก้มโมเลกุลเล็กเติมความชุ่มชื้นเก็บรายละเอียดในผิวชั้นตื้นได้โดยตรง

*ผลการรักษาแตกต่างกันแต่ละบุคคล

3. ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม อันตรายไหม? ยี่ห้อไหนดี? ข้อควรรู้ก่อนฉีดคือ?

  •         ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม อันตรายไหม?

จะไม่มีอันตรายครับหากฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มโดยใช้ตัวยาฟิลเลอร์ของแท้ ฉีดกับคลินิกที่น่าเชื่อถือ ได้มาตรฐาน ฉีดโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์ สามารถประเมินสาเหตุของการเกิดร่องแก้มในคนไข้แต่ละเคสได้อย่างแม่นยำ เพื่อลดความเสี่ยงอันเกิดจากการฉีดผิดวิธีที่อาจส่งผลให้หน้าแข็งดูไม่เป็นธรรมชาติ ร่องแก้มลึกและชัดยิ่งกว่าเก่า หรืออาจเกิดเป็นก้อนในภายหลัง

  •         ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ยี่ห้อไหนดี จุดสังเกตฟิลเลอร์ของแท้ยี่ห้อต่างๆ

แพทย์แนะนำการฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม ควรฉีดด้วย Juvederm voluma (อยู่ได้ 1 ปีครึ่ง) หรือ Juvederm ultra plus (อยู่ได้ 1 ปี) เพราะเป็นฟิลเลอร์เนื้ออ่อน ทนต่อการขยับได้ดี สามารถกระจายตัว รวมถึงเรียบเนียนไปกับผิว ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด เพราะผิวชั้นบนบริเวณร่องแก้มจะมีลักษณะแห้งและบางมาก

  •         ฟิลเลอร์ร่องแก้มต้องใช้กี่ cc

โดยทั่วไปในคนไข้รายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป คือมีอายุมากแล้ว ในการเติม ฟิลเลอร์ร่องแก้มจำเป็นต้องใช้ฟิลเลอร์จำนวนที่มากขึ้น เช่นใช้ 3-4 cc รวมถึงในบางเคสอาจต้องทำร้อยไหม หรือ hifu ร่วมด้วยจึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี

สำหรับคนไข้ที่มีร่องแก้มไม่ลึกมากนัก โดยมีอายุระหว่าง 30-40 ปี แพทย์จะใช้ ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ทั้ง 2 ข้างแค่ประมาณ 1-2 cc เท่านั้น

4. ฟิลเลอร์ร่องแก้ม vs ร้อยไหมก้างปลาดึงร่องแก้ม vs ร้อยไหมเติมเต็มร่องแก้ม vs Hifu ร่องแก้ม

การเติมเต็มร่องแก้มด้วยการฉีดฟิลเลอร์ เป็นการแก้ปัญหาร่องแก้มลึกได้อย่างไม่ยากและตรงจุดที่สุด

ส่วนการร้อยไหมในผิวชั้นตื้น คุณหมออาจจะเลือกใช้เพื่อช่วยเสริมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะในรายที่ร้อยไหมเงี่ยงก้างปลาเพื่อใช้ดึงร่องแก้มโดยตรง จะทำให้เนื้อขึ้นไปกองอยู่ตรงโหนกแก้ม และมีความเสี่ยงที่ผลลัพธ์จะออกมาจะดูบวม ไม่เป็นธรรมชาติในภายหลัง

สำหรับในเคสที่เติมเต็มร่องแก้มโดยใช้ไหมเรียบ เสี่ยงที่จะทำให้เกิดอีลาสติน (elastin) ซ้อนทับกันจนทำให้เกิดเป็นพังผืดแข็งได้อีก เนื่องจากต้องร้อยไหมซ้อนกันหลาย ๆ เส้นในจุดเดียวกัน

แต่ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนไข้ที่กลัวการฉีดฟิลเลอร์ เพราะกลัวเข็ม และเป็นคนที่ยังมีร่องแก้มที่ไม่ลึกมากเท่าไร นั่นคือการทำ hifu ซึ่งเป็นคลื่นเสียงที่มีความปลอดภัยสูง ใช้ยิงลงในชั้นผิวเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนของตัวเอง ทั้งนี้ คนไข้ควรทราบไว้ก่อนว่าหากเทียบกับการลดร่องแก้มโดยการฉีดฟิลเลอร์แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำไฮฟู่จะไม่ชัดเจนหรือรวดเร็วเท่าฟิลเลอร์ครับ

5. วิธีการดูแลตัวเอง หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม มีอะไรบ้าง?

  •         หลังฉีดเสร็จแล้ว ไม่ควรแตะ เกา หรือนวด ในบริเวณที่ทำ
  •         สำหรับคนที่มีอาการบวมแดง คัน หรือเขียวช้ำ จะสามารถดีขึ้นได้เองภายในระยะเวลา 2-3 วัน
  •         ในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังทำเป็นอย่างน้อย ควรอยู่ในที่อากาศเย็น หลีกเลี่ยงความร้อนทุกชนิด งดเว้นการทำกิจกรรมที่ทำให้หน้าแดง เช่น การเข้าซาวน่า ตากแดด หรือออกกำลังกายหนัก ๆ
  •         ในช่วง 1 เดือนหลังทำเป็นอย่างน้อย ควรหลีกเลี่ยงการทำเลเซอร์ร้อนที่ลงผิวชั้นลึกทุกประเภท เช่น RF (Radio Frequency) และ Thermage
  •         เพื่อป้องกันฟิลเลอร์เคลื่อนที่และไม่เกาะผิว จึงควรหลีกเลี่ยงการขยับหน้าเยอะหลังฉีดฟิลเลอร์
  •         ไม่ควรกดแรงในเคสที่ต้องประคบเย็น ซึ่งการประคบเย็นควรทำในบางกรณีและอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  •         เพื่อช่วยให้ฟิลเลอร์อยู่ได้นานยิ่งขึ้น ควรดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ ประมาณวันละ 1.5-2 ลิตร

เลือกคลินิกฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มอย่างไรให้ปลอดภัย

ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม บวมกี่วัน?

หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มจะมีอาการบวมบ้างจากเข็มซึ่งเป็นเรื่องปรกติ โดยคนไข้ควรหลีกเลี่ยงการแตะ การกดนวด การเกาในจุดที่ฉีด และภายใน 2-3 วัน อาการบวมที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปได้เอง ข้อดีของการฉีด filler คือสามารถเห็นผลลัพธ์ได้ทันที สำหรับคนที่จำเป็นต้องรีบใช้หน้าสามารถใช้ได้เลย

ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มแล้วเกิดเป็นก้อน มีสาเหตุมาจาก? สามารถแก้ไขได้หรือไม่?

หมอที่ใช้เทคนิคการฉีดที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม และการเลือกใช้ฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับจุดที่ฉีด ล้วนเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้หลังฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มแล้วเกิดเป็นก้อนขึ้นมาได้

ในการแก้ไขการเกิดก้อนหลังฉีดฟิลเลอร์นั้น คุณหมอจะใช้เอนไซม์ Hyaluronidase ในการฉีดสลายฟิลเลอร์ โดยจะช่วยสลายฟิลเลอร์ได้หมดทั้ง 100% คนไข้จะมีผิวที่ฟื้นคืนกลับมาในสภาพเดิมได้อีกครั้งหนึ่งครับ

ขอบคุณข้อมูล: ตอบข้อสงสัย การฉีดฟิลเลอร์สามารถสลายได้หรือไม่ 

จาก: Youtube Channel: V Square Clinic

6. ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม ที่ไหนดี?

คนไข้ควรพิจาณาเลือกฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มกับคุณหมอที่มีความชำนาญ มีเทคนิคการฉีดที่ถูกต้อง รวมทั้งเลือกทำในคลินิกที่เชื่อถือได้ ได้มาตรฐาน ซึ่งเราดูรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการจริงประกอบการตัดสินใจ เพื่อความปลอดภัยในการทำและผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจมากที่สุด

7. ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา

ราคาเริ่มต้นที่ V Square Clinic ในการฉีด filler ร่องแก้ม จะอยู่ที่ 9,900 บาท/1cc โดยมีให้เลือกทั้งยี่ห้อ Juvederm ของอเมริกา และยี่ห้อ Restylane ของสวีเดนครับ โดยราคานั้นจะต้องพิจาณาดูตามยี่ห้อและระยะเวลาความคงทนของฟิลเลอร์ที่เลือกใช้ด้วย ซึ่งจะอยู่ได้นานประมาณ 12-18 เดือน (แล้วแต่รุ่นที่เลือกใช้)

ฟิลเลอร์แท้-juvederm-ultraplusxc

ฟิลเลอร์ร่องแก้มรุ่นที่เหมาะสมคือ Juvederm ultraplus xc ราคา 9,900 .-/1cc. รุ่นนี้อยู่ได้ 1 ปีครับ

8. รีวิวฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม

รีวิวฟิลเลอร์ร่องแก้ม

ตัวอย่างรีวิว ผลการรักษาด้วยฟิลเลอร์ใต้ตา ร้องแก้ม 2 cc

รีวิวฟิลเลอร์ร่องแก้ม

ตัวอย่างรีวิว ผลการรักษาด้วยฟิลเลอร์ใต้ตา ร้องแก้ม 2 cc

รีวิวฟิลเลอร์ร่องแก้ม

ตัวอย่างรีวิว ผลการรักษาด้วยฟิลเลอร์ใต้ตา ร้องแก้ม 3 cc

รีวิวฟิลเลอร์ร่องแก้ม

ตัวอย่างรีวิว ผลการรักษาด้วยฟิลเลอร์ใต้ตา ร้องแก้ม 2 cc

รีวิวฟิลเลอร์ร่องแก้ม

ตัวอย่างรีวิว ผลการรักษาด้วยฟิลเลอร์ใต้ตา ร้องแก้ม

เอกสารอ้างอิง

  1. Holger G. Gassner, MD; Amir Rafii, MD; Alison Young, MD, PhD; Craig Murakami, MD; Kris S. Moe, MD; Wayne F. Larrabee Jr, MD. 2008. Surgical Anatomy of the Face. แหล่ข้อมูล:https://jamanetwork.com/journals/jamafacialplasticsurgery/articlepdf/480585/qoa70048_9_19.pdf
  2. de Maio M. Aesthetic Plast Surg 2018. Myomodulation with Injectable Fillers: An Innovative Approach to Addressing Facial Muscle Movement.. แหล่งข้อมูล:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK482440/

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.vsquareclinic.com/blogs/cheek-filler/